Wednesday, January 8, 2014

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง

ปัจจุบันการฝังเข็มได้แพร่หลายไปในเกือบทุกประเทศทั่วโลก แม้กระทั่ง WHO (World Health Organization) หรือองค์การอนามัยโลก ได้ยอมรับการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
การฝังเข็มนั้นมีหลายอย่างซึ่งอาจแตกต่างกันตามชนิดและอาการของโรค อีกทั้งขนาดเข็ม และลักษณะของเข็มที่ฝังก็จะต่างกัน บางทีเทคนิคของหมอฝังเข็มแต่ละคนก็ต่างกันด้วย
ลักษณะของการฝังเข็มก็ไม่มีอะไรมาก คือ
- ฝังเข็มที่ตำแหน่งที่ใช้รักษาโรคนั้นๆ รอสักครู่ตามระยะเวลาของอาการ เสร็จแล้วดึงเข็มออก
- บางกรณีอาจจะต้องฝังเข็มลงไปที่จุดนั้นๆ เสร็จแล้วรอ 10 - 30 นาที และอาจต้องใช้ไฟฟ้ากระตุ้นด้วย เพื่อให้ผลของการรักษาดีขึ้น
การฝังเข็มนั้น หลายๆโรคที่รักษาด้วยการฝังเข็ม ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง จึงจะหายเป็นปรกติ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคและความหนักของอาการที่เป็น

โรคที่นิยมรักษา อย่างเช่น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โปลิโอ (อัมพาตในเด็ก) ปวดหัวไมเกรน ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดหลัง ปวดคอ ปวดเอว โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น


Monday, January 6, 2014

ความเป็นมาของการฝังเข็ม

ความเป็นมาของการฝังเข็ม

การฝังเข็มนั้นถือเป็นศาสตร์ทางการแพทย์ที่เริ่มมาจากประเทศจีน ผู้ใดเป็นผู้คิดค้นวิชาการฝังเข็มนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด ไม่มีระบุไว้ในหนังสือหรือประวัติศาสต์ แต่หากย้อนไปมีบันทึกไว้เกี่ยวกับการฝังเข็มสำหรับรักษาโรคต่างๆมานานมากกว่า 3000 ปี แม้แต่บุคคลสำคัญอย่างจักรพรรดิ์ยังรักษาอาการประชวรด้วยการฝังเข็มเป็นหลัก ทั้งนี้การฝังเข็มจึงเป็นศาสตร์ทางการแพทย์ของจีนที่ได้ปฏิบัติต่อเนื่องกันเป็นเวลานานมาก จนปัจจุบันในหลายประเทศได้ถูกยอมรับให้ใช้การฝังเข็มในการรักษาโรคควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบันด้วยซ้ำไป